“รสชาติที่บ่งบอกถึงเรื่องราวของตัวกาแฟได้เป็นอย่างดี ผ่านการสัมผัสของการดื่ม”
Red Honey Omkoi
เป็นผลผลิตจากเกษตรกร ในโครงการ ''สร้างป่า สร้างรายได้''ของศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ มีรสชาติที่โดดเด่นของการแปรรูปแบบ Red Honey Process เป็นความหวานนวลที่ผสมผสานกับความเปรี้ยวฉ่ำอย่างลงตัว
กาแฟ Red Honey Omkoi ของเราจึงมีรสชาติที่หวานโดดเด่นของน้ำตาลทรายแดง น้ำผึ้งและคาราเมล มีความเปรี้ยวฉ่ำของส้มและเลม่อน กลิ่นหอมอ่อนๆ ของดอกไม้ขาว คงค้างไว้ด้วยความหวานละมุนอย่างอ้อยอิ่ง
Omkoi Paper Mountain Development Study Center
Altitude: 1,200 m.a.s.l
Process: Red Honey Process
Taste Note: Acacia, Lemon, Orange, Honey, Brown Sugar, Caramel
ภาพศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่มา: https://www.facebook.com/omkoicoffee.omkoi/
กาแฟ ธรรมชาติ ความยั่งยืน
กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สามารถสร้างร้ายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง และยังเป็นพืชที่อาศัยการเติบโตภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่
การปลูกกาแฟจึงเป็นการสร้างป่าและช่วยดูแลรักษาธรรมชาติ สร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ภาพการเก็บกาแฟของเกษตรกร
ที่มา: https://www.facebook.com/omkoicoffee.omkoi/
ภาพผลเชอรี่กาแฟหลังจากล้างทำความสะอาด
ที่มา: https://www.facebook.com/omkoicoffee.omkoi/
ภาพการคัดเมล็ดด้วยมือของศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ
ที่มา: https://www.facebook.com/omkoicoffee.omkoi/
อมก๋อย
เป็นแหล่งเพาะปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนป่าสลับกับภูเขาที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1200 เมตร อีกทั้งยังได้รับการดูแลเอาใจใส่ของเกษตรกร ทำให้กาแฟมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
สมัยก่อนมีมิชั่นนารีออกประกาศศาสนาเดินทางเท้าลัดเลาะคามผ่านเขาสลับไปมา พับไปพับมา เหมือนกระดาษ จึงเรียกดอยนี้ว่า Paper mountain
Red Honey Process
เป็นการนำผลเชอรี่มาสีแยกเนื้อออกจากเมล็ด จากนั้นจะนำเมล็ดที่มี Mucilage หรือ เมือก ห่อหุ้มกะลากาแฟ (ลักษณะเหนียวและมีความหวาน) ไปตากแห้ง โดยการทำ Red Honey Process จะคัดแยกกะลาที่มี Mucilage ประมาน 75 % แล้วนำไปตากภายใต้ร่มเงาเพื่อเพิ่มความชื้นและชะลอการทำให้แห้ง ทำให้ได้ Flavor Profile เป็น Sweet and Syrupy
หลังจากผ่านการแปรรูป
ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ จะคัดแยกเมล็ดด้วยมือ เพื่อแบ่งเกรดตามขนาด ไม่มีตำหนิและตรวจสอบให้ได้สารกาแฟของเกษตรกรมีคุณภาพที่ดีเยี่ยม
อมก๋อย Red Honey Process เป็นกาแฟที่คั่วโดยเครื่องคั่วอัจฉริยะ Rubasse รูบาสส คือ แหล่งพลัง NIR (Near-Infrared) เทคโนโลยีการให้พลังงานความร้อน ที่นิยมในระบบอุตสาหกรรมอบแห้ง และทางการเเพทย์ ใช้พลังงานต่ำแต่ให้พลังความร้อน ที่คุ้มค่า สูญเสียพลังงานไปให้กับ สภาพแวดล้อมน้อยกว่า แหล่งกำเนิดความร้อนเเบบอื่น กาแฟสุกได้ดี โดยการแทรกซึมความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงที่ดี จากการ Radiation และสามารถ ควบคุม Conduction Convection ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
ระดับการคั่ว จะเป็นกาแฟคั่วอ่อน ที่มีค่าสีแอคตรอน 85 มีคาแร็คเตอร์ของกลิ่นหอมดอกไม้ มีความเป็นผลไม้เปรี้ยวฉ่ำ
กาแฟ Chiang Mai Sakura เป็นกาแฟที่อยู่ในกลุ่มโทน Enzymatic
กลิ่นที่เกิดจากความเฉพาะตัวของสายพันธ์ุ แหล่งปลูก การแปรรูปกลุ่มโทน Citrus & Other Fruits, Tropical Fruit, Stone Fruit, Berry - like
Taste Note: Acacia, Lemon, Orange, Honey, Brown Sugar, Caramel
GLOBAL COFFEE SCHOOL INTERNATIONAL CLASS FROM USA เพื่อใช้ในการอธิบายและประเมินกาแฟตามโทนใน Flavor Map สามารถใช้งานได้สะดวกและฝึกการสื่อสารได้ชัดเจน
Country = ประเทศ
Region = ภูมิภาค
Farm = ไร่กาแฟ
Variety = สายพันธ์ุ
Process = การแปรรูป
Harvest Date = ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว
Moisture = ค่าความชื้นใน
Green Bean, Density = ค่าความหนาแน่นใน Green Bean
Roasting Date = วันคั่วกาแฟ
Roasting Info = ระดับการคั่วและค่าสีกาแฟ
Method = วิธีการสกัด
Tool = เครื่องมือที่ใช้ (Machine/Dripper)
Coffee Dose = ปริมาณกาแฟ Grind Size = ขนาดเบอร์บด
Water(Extract) = ปริมาณน้ำการสกัด (g) ค่า TDS น้ำ (ppm)
Time = เวลาการสกัด
Extract = น้ำที่ผ่านการสกัด (g) ค่า TDS กาแฟ %(TDS)
Water (Dilution) = ปริมาณน้ำที่เจือจาง
Solid = สารละลายของกาแฟที่สกัดออกมา(g)
Yield = อัตราการสกัด (%)
Aroma Intensity = กลิ่น
Body = น้ำหนัก
Acid = ความเป็นกรด
Bitter = ความขม
Very weak = อ่อน/บางมาก
Slightly weak = ค่อนข้างอ่อน/บาง
Average = ค่ากลาง
Slightly strong = ค่อนข้างเข้มข้น
Very strong = เข้มข้น
ORTHO = การดมกลิ่นทางจมูกส่วนหน้า
RETRO = การประเมินกลิ่นหลังจากที่ดื่มหรือกลืนลงไป
W = weak (อ่อน)
S = strong (เข้มข้น)
Flavor Map = กลุ่มกลิ่นรส Flavor ของกาแฟยุคใหม่
ช่องรวมคะแนน ORTHO = คะแนน ÷ 2
ช่องรวมคะแนน RETRO
ช่องรวมคะแนน Total = (ORTHO ÷ 2) + RETRO
ช่องประเมินคะแนนกาแฟตามกลุ่ม F,C,B,S
Brew (Sounds like Broo)
คือนิยามที่ใช้อธิบายกระบวนการทำกาแฟทั้งหมด (ชงกาแฟ ดริป ฯลฯ)
Extraction
Extraction การสกัด หมายถึง กระบวนการแยก (separation) โดยใช้ของเหลวอีกชนิดหนึ่งเป็นตัวทำละลาย สารที่ต้องการแยกโดยให้ละลายออกมาในตัวทำละลาย
Strength หรือ Body คือความเข้มข้นที่เกิดขึ้นในกาแฟ (1.15-1.45%)
***การสกัดที่ยอดเยี่ยมคือ Balance เป็นความสมดุลระหว่าง Extraction and Strength
More Extraction : Over Extraction
Over - Extraction > 22%
การสกัดที่ออกมามากเกินไป จะทำให้กาแฟมีสีเข้ม รสขม น้ำหนักมาก และอาจมีรสชาติเหมือนยา
(สำหรับกาแฟคุณภาพสูง อาจจะสามารถ สกัดได้ มากกว่า 22%)
Less Extraction : Under Extraction
Under - Extraction < 18%
การสกัดน้อยเกินไป จะทำให้กาแฟมีสีใส รสอ่อน ฝาด เปรี้ยวแหลม น้ำหนักบาง และอาจมีกลิ่นเขียวคล้ายน้ำผัก
...
1.Ratio
Ratio คือ อัตราส่วน หรือปริมาณของ กาแฟ ต่อ น้ำ
(Ratio ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เครื่องชง วิธีการ และเทคนิคที่ใช้ในการบรูว์)
Ex. Ratio 1 : 15 (กาแฟ 1 กรัม น้ำ 15 กรัม)
บรูว์โดยใช้กาแฟ 16 กรัม น้ำ 240 กรัม (16*15 = 240)
More Ratio : More Weak
Less Ratio : More Strong
2.Grind Size
เป็นส่วนสำคัญของการบรูว์ และขนาดของกาแฟบดจะส่งผลต่อการสกัด
ผงกาแฟหยาบ
มีขนาดใหญ่ + มีช่องว่างระหว่างผงกาแฟกว้าง = ทำให้น้ำไหลผ่านเร็ว ใช้เวลาสกัดเร็ว ส่งผลให้เกิดการสกัดน้อย
(เหมาะสำหรับเครื่องชงแบบแช่ หรือกาแฟคั่วกลาง/เข้ม)
**หมายเหตุถ้ากาแฟคั่วอ่อนนำมาแช่ ใช้เรื่องของอุณหภูมิ + ระยะเวลาเพิ่ม
ผงกาแฟละเอียด
มีขนาดเล็ก + มีช่องว่างระหว่างผงกาแฟน้อย = ทำให้น้ำไหลผ่านช้า น้ำเข้าไปสกัดได้ทั่วทุกมุม ใช้เวลาสกัดช้า ส่งผลให้เกิดการสกัดมาก
(เหมาะสำหรับเครื่องชงแบบเอสเพรสโซ่ หรือกาแฟคั่วอ่อน)
**หมายเหตุขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้
Fine Grinding : More Body
Coarse Grinding : More Bright
3.Time
คือระยะเวลาที่น้ำสัมผัสกับกาแฟ (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เครื่องชง Grind Size, Temperature, Turbulence)
ระยะเวลาเร็ว = จะทำให้เกิดการสกัดเร็ว
ระยะเวลาช้า = จะทำให้เกิดการสกัดช้า
More time : More Body
Less time : Less Bitter
******* บดหยาบ + ระยะเวลาช้า = เพิ่มการสกัด (More Body)
บดละเอียด + ระยะเวลาเร็ว = ลดการสกัด (Less Bitter)
4.Temperature
อุณหภูมิน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
คล้ายๆ กับการใช้ไฟทำอาหาร ไฟอ่อน = ไม่สุก , ไฟแรง = ไหม้
**แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว น้ำเดือด 100 ไม่ได้ทำให้กาแฟไหม้ ทำให้สกัดสาร Caffeine ออกมาได้มาก กาแฟอาจจะมี รสขมกว่า การใช้น้ำที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า
โดยปกติจะใช้อุณหภูมิน้ำประมาณ 91-96 องศาเซลเซียส
(ข้อมูล จากงานวิจัย ของ ICO ช่วง 94 องศา เป็น ช่วงที่ สกัดสารละลายออกมาได้มากที่สุด
(ขึ้นอยู่กับ การแปรรูป ระดับการคั่ว โปรไฟล์รสชาติ ความสดใหม่ และความต้องการการสกัด)
อุณหภูมิน้ำที่สูงเกินไป = สกัดมาก
(เหมาะกับกาแฟคั่วอ่อน หรือมีรสชาติอ่อน)
อุณหภูมิน้ำที่ต่ำเกินไป = สกัดน้อย
(เหมาะกับกาแฟคั่วเข้ม หรือมีรสชาติเข้ม)
Higher Temperature : More body
Lower Temperature : Less bitter
5.Turbulence
เป็นการหมุน หรือการคนผสม จะช่วยให้น้ำเข้าไปสกัดกาแฟได้ทั่วทุกมุม
Turbulence เปรียบเสมือนรสมือ ลักษณะการวน น้ำหนักมือ ระดับความสูง ขนาดสายน้ำ จังหวะและระยะเวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยิ่งวนมากก็จะยิ่งทำให้เพิ่มการสกัดมากขึ้น
More Turbulence : More Body
Less Turbulence : Less Bitter
6.Water TDS
น้ำเป็นส่วนประกอบในกาแฟ Espresso ประมาน 90% และในกาแฟ Filter มีประมาณ 98.5% น้ำทำหน้าที่เป็นสารละลายและสกัดรสชาติออกมาระหว่างการบรูว์
การวัดผลรวมของแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำ TDS หรือ Total Dissolved Solid (หลักๆจะมี แคลเซียม และแมกนีเซียม) จะช่วยให้รู้ว่าน้ำที่ใช้มีแร่ธาตุอยู่มากหรือน้อย และนำไปวางแผนหรือปรับปัจจัยการชงอื่นๆ เพื่อช่วยป้องกันการสกัดไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
TDS สูง = สกัดมาก (น้ำที่มีแร่ธาตุ หรือน้ำแร่)
น้ำที่ค่าแร่ธาตุสูง จะไปกัน Flavor กลุ่มโทน Enzymatic และอาจนำพารสชาติหรือสิ่งที่ไม่ดีในกาแฟออกมาด้วย (Over Extraction)
TDS ต่ำ = สกัดน้อย (น้ำที่ผ่านการกรอง)
น้ำที่ค่าแร่ธาตุต่ำ จะทำให้สกัดกาแฟออกมาได้น้อย รสชาติที่ได้จะมีความสว่าง เปรี้ยวแหลมหรือมีรสคล้ายน้ำต้มผัก (Under Extraction)
การผสมน้ำหรือปรับค่าน้ำให้ได้ TDS ที่ต้องการจะช่วยทำให้ควบคุมการสกัดได้ดี
More TDS = More Body
Less TDS = More Bright
****** TDS สูง + อุณหภูมิต่ำ + บดหยาบ = ลดการสกัด
TDS ต่ำ + อูณหภูมิสูง + บดละเอียด = เพิ่มการสกัด
การเข้าใจปัจจัยต่างๆ จะช่วยทำให้เรารู้ถึง เหตุและผล จากการบรูว์ในแต่ละครั้ง และสามารถนำไปปรับใช้ ทดลองหาเทคนิคที่เหมาะสม สนุกกับการบรูว์และการดื่มกาแฟในทุกๆวันนะคะ