แม่จันใต้ : Sunshine in the rain
กาแฟไทยคาแร็คเตอร์โดดเด่นด้วยกลิ่นหอมสดชื่นของดอกไม้ Acacia เลม่อน ส้ม และหวานน้ำผึ้ง จากแหล่งเพาะปลูกหมู่บ้านแม่จันใต้ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
Farmer : Sinthop Sumio
Altitude : 1,500 m.a.s.l
Variety : Catimor Typica
Process : Honey Process
Taste Note : Acacia, Lemon, Orange, Honey
Tropical Color Palette เป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง
ถาดสีโทนเมืองร้อน ที่สะท้อนถึง Flavor ของกาแฟตัวนี้
แม่จันใต้ Natural
มีกลิ่นหอมตั้งแต่บด จนถึงยกจิบ
ความหวานอมเปรี้ยวในโทนของผลไม้อย่าง กล้วย สับปะรด อินทผลัม ขนุน
ผสมผสานกับความนวลของ วนิลลา น้ำผึ้ง
Farmer : Sinthop Sumio
Altitude : 1,500 m.a.s.l
Variety : Catimor Typica
Process : Natural Process
Taste Note : Pineapple, Banana, Jackfruit, Apricot, Date, Honey, Vanilla
แม่จันใต้ หมู่บ้านกาแฟในอ้อมกอดของธรรมชาติและความพยายามของหนึ่งหัวใจเกษตรกร
กลางหุบเขาที่รายล้อมด้วยความอุดสมบูรณ์ของธรรมชาติ มีหมู่บ้านอาข่าเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและความรักต่อ “กาแฟ”
ความลำบากของการเดินทางลัดเลาะทิวเขากั้นระหว่างเชียงรายกับเชียงใหม่ไปยังหมู่บ้าน
“แม่จันใต้” ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของชนเผ่าอาข่า ที่นี้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ใช้แสงสว่างและพลังงานจากโซลาเซลล์
เมื่อได้เข้าไปยังหมู่บ้านจะสังเกตเห็นได้เลยว่าชาวบ้าน 40 หลังคาเรือน ประชากรราวๆ 250 คน ส่วนใหญ่นั้น “ปลูกกาแฟ”
แต่ก่อน “แม่จันใต้” เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น จากนั้นได้เริ่มปลูกกาแฟบนพื้นที่สูงประมาณ 1200-1500ม. ด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีอากาศเย็นชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำที่มีตาน้ำใช้ตลอดทั้งปีและปลูกกาแฟภายใต้ต้นไม้ใหญ่ ทำให้กาแฟแม่จันใต้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นเฉพาะของแหล่งเพาะปลูก
“ผมอยู่กับกาแฟมานานจนเกิดความรักกับสิ่งนี้”
คุณสินธพ จือปา เกษตรกรรุ่นใหม่
ผู้มีใจรักและมุ่งมั่นพัฒนากาแฟให้มีคุณภาพดีมาตั้งแต่ปี 2543 ใส่ใจทุกขั้นตอนตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ความมุ่งมั่นพัฒนากาแฟไทยให้มีมูลค่าและมีคุณภาพที่ดีเยี่ยม
หากย้อนกลับไปในสมัยที่กาแฟยังไม่ได้รับความนิยม การเริ่มทำกาแฟไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
ในตอนนั้นกาแฟถูกปลูกไปอย่างเรื่อยๆ เพราะไม่มีความรู้ ความเชียวชาญในการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป อีกทั้งการเก็บขายผลเชอร์รี่ก็ได้ราคาไม่ค่อยดี กิโลละ 5-7 บาทเท่านั้น
“เริ่มมีความคิดว่า...เราจะขายแบบกาแฟเชอร์รี่ไม่ได้แล้ว ต้องมีการ แปรรูป ต้องมาทำกาแฟกะลาขาย กาแฟสารขาย”
ด้วยความต้องการที่อยากจะพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกาแฟ พี่สินธพจึงเริ่มเรียนรู้ ศึกษาอย่างจริงจัง โดยมีนักวิชาการเข้ามาส่งเสริมและช่วยสอนวิธีการแปรรูป
หนึ่งถึงสองปีแรกได้เริ่มทำจากวิธีการ Washed Process ก่อน หลังๆ มาเมื่อมีงานประกวดกาแฟเริ่มรู้วิธีการแปรรูป และทดลองทำหลายๆ รูปแบบ แม้ว่าในปีแรกที่ส่งประกวดจะไม่เป็นไปตามที่หวัง จากความอดทนพยายามและไม่ย่อท้อทำให้ในปีถัดมากาแฟแม่จันใต้ของพี่สินธพได้รับ #รางวัลอันดับ 4 จากการประกวดกาแฟคุณภาพและ 10 สุดยอดกาแฟไทยในปี 2015
ซึ่งกว่าจะได้วิธีที่การที่คิดว่า “มันใช่” ก็ใช้เวลา 4-5 ปี จาก Washed Process ได้เริ่มทดลองทำ Honey Process ,Natural Process และเพิ่มเทคนิคการหมัก ด้วย Anaerobic Fermentation นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาการ Process จากความต้องการและการตอบรับของลูกค้าด้วย
รวมๆ แล้วในตอนนี้มีการ Process ถึง 9 วิธี เป็นความท้าทายที่อยากจะสร้างโปรไฟล์กาแฟใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกาแฟมากยิ่งขึ้น
ในอนาคตอยากจะพัฒนาให้ทุกคนได้มารู้จัก ส่งต่อเรื่องราวความตั้งใจของเกษตรกร
อยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืนทั้ง “เกษตรกรอยู่ได้ โรงคั่วก็ต้องอยู่ได้ และผู้บริโภคมีความสุขที่ได้ดื่มกาแฟแม่จันใต้”
.
“ผมเชื่อว่าเมล็ดกาแฟสามารถเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้”
แม่จันใต้ เป็นกาแฟที่คั่วโดยเครื่องคั่วอัจฉริยะ Rubasse รูบาสส คือ แหล่งพลัง NIR (Near-Infrared) เทคโนโลยีการให้พลังงานความร้อน ที่นิยมในระบบอุตสาหกรรมอบแห้ง และทางการเเพทย์ ใช้พลังงานต่ำแต่ให้พลังความร้อน ที่คุ้มค่า สูญเสียพลังงานไปให้กับ สภาพแวดล้อมน้อยกว่า แหล่งกำเนิดความร้อนเเบบอื่น กาแฟสุกได้ดี โดยการแทรกซึมความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงที่ดี จากการ Radiation และสามารถ ควบคุม Conduction Convection ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
ระดับการคั่ว จะเป็นกาแฟคั่วอ่อน ที่มีค่าสีแอคตรอน 85 มีคาแร็คเตอร์ของกลิ่นหอมดอกไม้ มีความเป็นผลไม้เปรี้ยวฉ่ำ
กาแฟ แม่จันใต้ เป็นกาแฟที่อยู่ในกลุ่มโทน Enzymatic
กลิ่นที่เกิดจากความเฉพาะตัวของสายพันธ์ุ แหล่งปลูก การแปรรูปกลุ่มโทน Citrus & Other Fruits, Tropical Fruit, Stone Fruit, Berry - like
Brew (Sounds like Broo)
คือนิยามที่ใช้อธิบายกระบวนการทำกาแฟทั้งหมด (ชงกาแฟ ดริป ฯลฯ)
Extraction
Extraction การสกัด หมายถึง กระบวนการแยก (separation) โดยใช้ของเหลวอีกชนิดหนึ่งเป็นตัวทำละลาย สารที่ต้องการแยกโดยให้ละลายออกมาในตัวทำละลาย
Strength หรือ Body คือความเข้มข้นที่เกิดขึ้นในกาแฟ (1.15-1.45%)
***การสกัดที่ยอดเยี่ยมคือ Balance เป็นความสมดุลระหว่าง Extraction and Strength
More Extraction : Over Extraction
Over - Extraction > 22%
การสกัดที่ออกมามากเกินไป จะทำให้กาแฟมีสีเข้ม รสขม น้ำหนักมาก และอาจมีรสชาติเหมือนยา
(สำหรับกาแฟคุณภาพสูง อาจจะสามารถ สกัดได้ มากกว่า 22%)
Less Extraction : Under Extraction
Under - Extraction < 18%
การสกัดน้อยเกินไป จะทำให้กาแฟมีสีใส รสอ่อน ฝาด เปรี้ยวแหลม น้ำหนักบาง และอาจมีกลิ่นเขียวคล้ายน้ำผัก
...
1.Ratio
Ratio คือ อัตราส่วน หรือปริมาณของ กาแฟ ต่อ น้ำ
(Ratio ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เครื่องชง วิธีการ และเทคนิคที่ใช้ในการบรูว์)
Ex. Ratio 1 : 15 (กาแฟ 1 กรัม น้ำ 15 กรัม)
บรูว์โดยใช้กาแฟ 16 กรัม น้ำ 240 กรัม (16*15 = 240)
More Ratio : More Weak
Less Ratio : More Strong
2.Grind Size
เป็นส่วนสำคัญของการบรูว์ และขนาดของกาแฟบดจะส่งผลต่อการสกัด
ผงกาแฟหยาบ
มีขนาดใหญ่ + มีช่องว่างระหว่างผงกาแฟกว้าง = ทำให้น้ำไหลผ่านเร็ว ใช้เวลาสกัดเร็ว ส่งผลให้เกิดการสกัดน้อย
(เหมาะสำหรับเครื่องชงแบบแช่ หรือกาแฟคั่วกลาง/เข้ม)
**หมายเหตุถ้ากาแฟคั่วอ่อนนำมาแช่ ใช้เรื่องของอุณหภูมิ + ระยะเวลาเพิ่ม
ผงกาแฟละเอียด
มีขนาดเล็ก + มีช่องว่างระหว่างผงกาแฟน้อย = ทำให้น้ำไหลผ่านช้า น้ำเข้าไปสกัดได้ทั่วทุกมุม ใช้เวลาสกัดช้า ส่งผลให้เกิดการสกัดมาก
(เหมาะสำหรับเครื่องชงแบบเอสเพรสโซ่ หรือกาแฟคั่วอ่อน)
**หมายเหตุขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้
Fine Grinding : More Body
Coarse Grinding : More Bright
3.Time
คือระยะเวลาที่น้ำสัมผัสกับกาแฟ (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เครื่องชง Grind Size, Temperature, Turbulence)
ระยะเวลาเร็ว = จะทำให้เกิดการสกัดเร็ว
ระยะเวลาช้า = จะทำให้เกิดการสกัดช้า
More time : More Body
Less time : Less Bitter
******* บดหยาบ + ระยะเวลาช้า = เพิ่มการสกัด (More Body)
บดละเอียด + ระยะเวลาเร็ว = ลดการสกัด (Less Bitter)
4.Temperature
อุณหภูมิน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
คล้ายๆ กับการใช้ไฟทำอาหาร ไฟอ่อน = ไม่สุก , ไฟแรง = ไหม้
**แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว น้ำเดือด 100 ไม่ได้ทำให้กาแฟไหม้ ทำให้สกัดสาร Caffeine ออกมาได้มาก กาแฟอาจจะมี รสขมกว่า การใช้น้ำที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า
โดยปกติจะใช้อุณหภูมิน้ำประมาณ 91-96 องศาเซลเซียส
(ข้อมูล จากงานวิจัย ของ ICO ช่วง 94 องศา เป็น ช่วงที่ สกัดสารละลายออกมาได้มากที่สุด
(ขึ้นอยู่กับ การแปรรูป ระดับการคั่ว โปรไฟล์รสชาติ ความสดใหม่ และความต้องการการสกัด)
อุณหภูมิน้ำที่สูงเกินไป = สกัดมาก
(เหมาะกับกาแฟคั่วอ่อน หรือมีรสชาติอ่อน)
อุณหภูมิน้ำที่ต่ำเกินไป = สกัดน้อย
(เหมาะกับกาแฟคั่วเข้ม หรือมีรสชาติเข้ม)
Higher Temperature : More body
Lower Temperature : Less bitter
5.Turbulence
เป็นการหมุน หรือการคนผสม จะช่วยให้น้ำเข้าไปสกัดกาแฟได้ทั่วทุกมุม
Turbulence เปรียบเสมือนรสมือ ลักษณะการวน น้ำหนักมือ ระดับความสูง ขนาดสายน้ำ จังหวะและระยะเวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยิ่งวนมากก็จะยิ่งทำให้เพิ่มการสกัดมากขึ้น
More Turbulence : More Body
Less Turbulence : Less Bitter
6.Water TDS
น้ำเป็นส่วนประกอบในกาแฟ Espresso ประมาน 90% และในกาแฟ Filter มีประมาณ 98.5% น้ำทำหน้าที่เป็นสารละลายและสกัดรสชาติออกมาระหว่างการบรูว์
การวัดผลรวมของแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำ TDS หรือ Total Dissolved Solid (หลักๆจะมี แคลเซียม และแมกนีเซียม) จะช่วยให้รู้ว่าน้ำที่ใช้มีแร่ธาตุอยู่มากหรือน้อย และนำไปวางแผนหรือปรับปัจจัยการชงอื่นๆ เพื่อช่วยป้องกันการสกัดไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
TDS สูง = สกัดมาก (น้ำที่มีแร่ธาตุ หรือน้ำแร่)
น้ำที่ค่าแร่ธาตุสูง จะไปกัน Flavor กลุ่มโทน Enzymatic และอาจนำพารสชาติหรือสิ่งที่ไม่ดีในกาแฟออกมาด้วย (Over Extraction)
TDS ต่ำ = สกัดน้อย (น้ำที่ผ่านการกรอง)
น้ำที่ค่าแร่ธาตุต่ำ จะทำให้สกัดกาแฟออกมาได้น้อย รสชาติที่ได้จะมีความสว่าง เปรี้ยวแหลมหรือมีรสคล้ายน้ำต้มผัก (Under Extraction)
การผสมน้ำหรือปรับค่าน้ำให้ได้ TDS ที่ต้องการจะช่วยทำให้ควบคุมการสกัดได้ดี
More TDS = More Body
Less TDS = More Bright
****** TDS สูง + อุณหภูมิต่ำ + บดหยาบ = ลดการสกัด
TDS ต่ำ + อูณหภูมิสูง + บดละเอียด = เพิ่มการสกัด
การเข้าใจปัจจัยต่างๆ จะช่วยทำให้เรารู้ถึง เหตุและผล จากการบรูว์ในแต่ละครั้ง และสามารถนำไปปรับใช้ ทดลองหาเทคนิคที่เหมาะสม สนุกกับการบรูว์และการดื่มกาแฟในทุกๆวันนะคะ